Support
ChainPlakatThai
0924603064
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
guest
นายปิยพันธ์ สิริพรมทัตย์
- Guest -

Post : 2013-12-20 23:02:36.0     Forum: แจ้งโอนเงิน  >  นายปิยพันธ์ สิริพรมทัตย์

 แจ้งโอนเงินจำนวน  300 บาท

ชื่อบัญชี  นายปิยพันธ์  สิริหรมทัตย์

เลขบัญชี  767-3-61255-9

เวลา   12.05  น.

guest
tana_11@hotmail.co.th
- Guest -

Post : 2013-12-19 13:11:22.0     Forum: แจ้งโอนเงิน  >  นายธนา พุ่มศิลป์ [ OK ]

 แจ้งโอนเงินจำนวน : 400 บาท

ชื่อบัญชี   นายธนา  พุ่มศิลลป์

เวลา    11.55  น.

เลขบัญชี    767-2-30595-1

 

 

guest

Post : 2013-12-18 12:34:18.0     Forum: แจ้งโอนเงิน  >  [ตัวอย่าง] แจ้งโอน นางสาวพรทิพย์ สมเศก

 แจ้งโอนเงินจำนวน   500  บาท 

ชื่อบัญชี   นางสาวพรทิพย์  สมเศก   

เลขบัญชี   767-2-20956-7

เวลา      13.35  น.

 

*ขอเวลาที่ชัดเจนตรงกับใบเสร็จนะครับ และกรุณาตรวจสอบเลขบัญชีของท่านให้ถูกต้องก่อนโพสด้วยครับ*

*เมื่อเจ้าหน้าที่รับทราบแล้วจะทำเครื่องหมาย  [ OK ] ไว้ด้านหลังชื่อนะครับ*

 

 

guest

Post : 2013-12-16 21:51:34.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  มาตรฐานการตัดสินการประกวดปลากัด

การประกวดปลากัดในระดับประเทศ แบ่งประเภทปลากัดที่เข้าประกวด ดังนี้
1. ปลากัดหม้อ (ปลากัดครีบสั้น) แยกเป็น 3 ประเภท คือ
    1.1 สีเดียว (Solid Colour)
    1.2 สองสี (Bi - Colour)
    1.3 หลากสี (Multi - Colour)
2. ปลากัดจีน (ปลากัดครีบยาว) แยกเป็น 3 ประเภท คือ
    1.1 สีเดียว (Solid Colour)
    1.2 สองสี (Bi - Colour)
    1.3 หลากสี (Multi - Colour)

คำจำกัดความของปลาแต่ละประเภท
1. สีเดียว (Solid Colour)

Picture 001.jpg

Picture 002.jpg

หมายถึงปลากัดที่มีสีครีบ และลำตัวเป็นสีเดียวกันทั้งหมด โดยไม่มีสีอื่นใดแต้ม หรือปะปนอยู่เลยตามรูป A. แต่ B. ไม่ได้
- ตะเกียบ (ครีบท้อง) ของ A. อนุโลมให้มีสีอื่นได้ แต่ B. ไม่ได้
- ครีบหู อนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้
หมายเหตุ ครีบในที่นี้หมายถึงครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหาง

2. สองสี (Bi - Colour)

Picture 003.jpg

Picture 004.jpg

หมายถึงปลากัดที่ลำตัว และครีบมีสีต่างกันโดยลำตัว และครีบมีสีเดียวที่แตกต่างกัน รวมถึงปลาที่มีลำตัวเผือก และครีบสีเดียวตามรูป C. และ D. ยกเว้นเขม่าดำจากปากจรดโคนหู และเส้นขอบครีบของปลาจะเป็นสีใดก็ได้สำหรับ C.
- ตะเกียบ (ครีบท้อง) อนุโลมให้มีสีือื่่นได้
- ครีบหู อนุโลมให้เป็นครีบกระจกได้

3. หลากสี (Multi - Colour)

Picture 005.jpg

Picture 006.jpg

Picture 007.jpg

Picture 008.jpg

หมายถึงปลากัดที่มีสองสีขึ้นไปในส่วนของลำตัว และ/หรือ มีสองสีขึ้นไปในส่วนของครีบ ครีบที่เป็นกระจกถือป็นหนึ่งสี ตามรูป E. F. และ G. ยกเว้นเขม่าจากปากจรดโคนครีบหู และเส้นขอบครีบของปลาจะเป็นสีใดก็ได้
- ตะเกียบ (ครีบท้อง) อนุโลมให้มีสีอื่นได้
- ครีบหู อนุโลมให้เป็นครีบกระจก

     การให้คะแนนปลากัด
1. ความสมส่วน                     40 คะแนน
2. สี                                  40 คะแนน
3. ความสมบูรณ์                     20 คะแนน
    รวม                              100 คะแนน

1. ความสมส่วน
     ปลากัดหม้อ (ครีบสั้น) เป็นปลากัดที่มีลำตัว และครีบสมส่วน ประกอบกันแล้วเป็นรูปแบบที่สวยงาม ตะเกียบยาวเสมอกันทั้งสองข้าง ขอบครีบหลังจรดครีบหาง ครีบท้องกว้าง ชายน้ำปลายแหลมยาวชี้ทางส่วนท้านของลำตัว ขอบครีบเรียบ
     ปลากัดหางพู่กันจีน (ครีบยาว) เป็นปลากัดที่มีลำตัว และครีบสมส่วน ประกอบกันแล้วเป็นรูปแบบที่สวยงาม ตะเกียบยาวเสมอกันทั้งสองข้าง ขอบครีบทุกครีบต่อเนื่องเป็นแนวเดียวกัน (ยกเว้นครีบหู)
2. สี เป็นไปตามที่กำหนดในปลาแต่ละประเภท
3. ความสมบูรณ์ ปลาที่ส่งประกวดต้องสมบูรณ์ แข็งแรง ไม่เป็นโรคทุกชนิด ตลอดจนไม่มีการปรับแต่งครีบทุกครีบ

     ตำหนิที่ถูกตัดคะแนน
1. มีรูเกิดขึ้นที่ครีบใด ๆ (ตำหนิละไม่เกิน) 3 คะแนน
2. ครีบหลัง ครีบก้น และหางหยักเป็นฟันเลื่อย (ตำหนิละไม่เิกิน) 3 คะแนน
3. รอยแตก ฉีก ขาดต่าง ๆ (ตำหนิละไม่เกิน) 3 คะแนน
4. ตะเกียบสั้นยาวไม่เท่ากัน 3 คะแนน
5. เหงือกกางไม่เท่ากัน 3 คะแนน
6. ครีบหลังไม่กางทับส่วนหน้าของหาง 3 - 5 คะแนน
7. มีสีแต้มเพียงเล็กน้อย (เฉพาะปลากัดสีเดียว) 3 - 5 คะแนน
8. รอยต่อระหว่างสีไม่คมชัด (ขอบสีไม่ชัดเจน) 3 คะแนน

BY Thavee-farm

guest

Post : 2013-12-16 21:39:19.0     Forum: บทความน่าสนใจ  >  วิธีการผสมพันธุ์ปลากัดอย่างง่ายๆ

"แนะนำวิธีเพาะพันธุ์ปลากัดแบบง่ายๆ"

 

                ผม เริ่มเลยนะครับ ตอนแรกให้เตรียมตู้ปลาขนาด 14 นิ้วขึ้นไป  ปลากัดที่เพาะในตู้เราจะได้เห็นกิริยาอาการพฤติกรรมต่างๆ  ตู้ เพาะพันธุ์ควรอยู่สูงจากพื้น ระดับเอว  มีฝาปิดกั้นหวอดแตก  จากนั้นเลือกพ่อแม่พันธุ์อายุประมาณ 2- 3 เดือน (ปลาวัยรุ่นไข่เยอะ)  โดยมองลักษณะเป็นปลาที่สมบูรณ์เต็มที่  ท้องปลาจะมี ไข่ยื่น  ออกมาจากท้อง  จากนั้นเมื่อเราจับคู่พ่อแม่พันธุ์ได้แล้ว  เตรียม ตู้เพาะใส่น้ำสะอาดมีค่า PH ประมาณ 7.5 – 8 กำลังดี ใส่น้ำ ½  ของปริมาตรตู้  เราอาจจะช้อนหวอด     ที่ปลาสร้างไว้แล้วไปใส่ตู้เพาะจะช่วยย่นระยะเวลาในการสร้างหวอดใหม่

               จากนั้นเอาใบหูกวางใส่ไปประมาณ 3x3 นิ้ว  ใบหูกวางต้องเป็นใบที่แห้งกรอบเพราะจะไม่มี ยางที่เป็นอันตรายต่อปลาและลูกปลา  และช่วยปรับสภาพน้ำได้  ในใบหูกวางจะมี สารแทนนินซึมออกมา  ช่วยป้องกันโรคได้ดีต่อปลาและลูกปลา

               จากนั้นก็หาสาหร่าย   หรือไม้น้ำใส่ลงตู้ซัก 2-3 กิ่ง  และเอาพ่อพันธุ์ใส่ลงตู้  เอาตัวเมีย ใส่โหลเทียบไว้ในตู้ปลา  พอถึงตอนเย็นเวลา 4-5 โมง   ให้เทปลาตัวเมียลงตู้ได้ เพราะในช่วงกลางคืน   จะลดการกัดกันของปลา  ในวันรุ่งขึ้นเวลาประมาณ 9-10 โมง  ปลาตัวเมียจะเริ่มช้ำเพราะโดนกัดและจะยอมให้ตัวผู้รัดในช่วงนี้  ซึ่ง ปลาจะรัดกัน 4-5 ชั่วโมง ไข่จะ ตกลงพื้นตู้  ตัวผู้และตัวเมียจะช่วยกันเก็บไข่มาพ่นไว้ที่หวอด  จากนั้น เมื่อตัวเมียไข่เริ่มหมดก็จะออกจากหวอดไปอยู่ข้างตู้  ตอนเย็น 5 โมงให้ตักเอาแม่ปลาออกได้เลย  ปล่อยให้พ่อปลาดูแลลูก   
               จากนั้นประมาณวันที่ 2 ลูกปลาจะฟักเป็นตัวยังไม่ต้องให้อาหาร  พอวันที่ 4 ลูกปลาเริ่มไหว้ออกจากหวอดให้เอาลูกไรแดง(ไรจืด) ใส่ลงไป    วันที่ 5 ลูกไรเริ่มออกลูก ลูกปลาก็จะกินลูกของลูกไรแดงที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า  ส่วนพ่อปลาก็จะ กินพ่อแม่ของลูกไร  พอได้ 15 วัน ก็เอาพ่อปลากัดออกจากลูกปลาได้เป็นจบกระบวนการ

*** หมายเหตุ   ก่อนเพาะพันธุ์ควรให้พ่อแม่ปลากินอาหารให้อิ่มก่อน  ตอนเพาะพันธุ์งดอาหารเด็ดขาด

By ลุงอ๋า Goldenbetta

1